ChatGPT โปรแกรม AI อัจฉริยะที่พิมพ์สั่งอะไรก็ทำให้ได้! แต่จะเขียนคำสั่งอย่างไรให้ได้คำตอบที่ต้องการ? ทำได้ง่ายๆ ผ่านการใช้คำสั่งที่แบ่งเป็น 5 ส่วนหรือ PARTS วิธีเขียนคำสั่งให้ ChatGPT ที่ Google เป็นคนสอน!
เนื้อหาในบทเรียนนี้
ChatGPT คืออะไร
ไม่เหมือนกับโปรแกรมที่เราเคยรู้จักที่เมื่อเราต้องการข้อมูลอะไร โปรแกรมจะไปดึงข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วมาให้เรา ChatGPT เป็นโปรแกรม AI ที่เมื่อเราพิมพ์บอกว่าต้องการอะไร เค้าจะประมวณผลข้อความที่เราพิมพ์ส่งไป ทำการวิเคราะห์ จากนั้นสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องตอบกลับมา โดยมีพื้นฐานจากข้อมูลจำนวนมากมาจากทั้ง Internet
การสร้างข้อมูลมาตอบคำถามของเราโดยเฉพาะทำให้ ChatGPT ถูกเรียกว่า Generative AI หรือ AI ที่สร้างข้อมูล ทำให้การใช้งานสามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเขียนคำสั่งเพื่อให้สร้างไอเดีย, เปรียบเทียบ, วิเคราะห์, อธิบาย เรียกได้ว่าถ้าเป็นงานที่ต้องวิเคราะห์ สามารถใช้ ChatGPT ทำให้ได้เบื้องต้น นำไอเดียที่ได้ไปปรับต่อได้เลย
ChatGPT คืออะไร เราจะมาดูเจาะลึกกันในบทเรียนถัดไปอีกครั้ง อย่าลืม Subscribe ไว้นะ!
ผลลัพธ์ของการเขียนก่อน และหลังการใช้ PARTS
การเขียนคำสั่งให้ ChatGPT ทำงานได้ตามต้องการ = เขียนคำสั่งให้ละเอียด ซึ่งการเขียนให้ละเอียดมี Framework ที่เริ่มทำตามได้ง่ายๆ ที่สอนโดย Google ชื่อว่า PARTS ที่ช่วยให้เราสามารถครอบคลุมข้อมูลสำคัญพื้นฐานได้แบบไม่ต้องนั่งคิดเองตลอด
นี่คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ ChatGPT คิด Content ของเพจ Ultimate Python ให้เปรียบเทียบระหว่างคำสั่งสั้นๆ เหมือนพิมพ์บอกเพื่อน เปรียบเทียบกับคำสั่งที่มีองค์ประกอบ PARTS ครบทุกองค์ประกอบ
จะเห็นว่าการเขียนคำสั่งให้ละเอียดจะให้เราสามารถกำหนดทิศทาง รายละเอียดของคำตอบได้ดีกว่ากว่า
P - Persona ให้คุณเป็น...
การกำหนดให้ ChatGPT ให้ทำงานเหมือนตำแหน่งงาน ลักษณะที่ต้องการ จะช่วยให้การตอบคำถามโฟกัสคำตอบไปในแนวทางของการตอบสำหรับในตำแหน่งงานนั้นๆ
คำสั่ง: ให้คุณเป็น Content Creator
A - Aim ให้คุณทำ...
โดยทั่วไปส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เรานึกถึงมากที่สุดสำหรับการเขียนพิมพ์คำสั่งให้ ChatGPT โดยการเขียนให้เขียนให้ละเอียดเท่าที่เป็นไปได้ว่าให้ทำอะไร
คำสั่ง: ให้คุณสร้างไอเดีย Content เกี่ยวกับ Data, AI และ No Code สำหรับการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดงานซ้ำซ้อนรอบตัว
R - Recipient สำหรับผู้รับ...
การกำหนดผู้รับ จะช่วยปรับคำตอบให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้รับ โดยให้เขียนรายละเอียดสำหรับผู้รับ
คำสั่ง: สำหรับผู้อ่านที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ทีม Data, IT และบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาตนเองให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
T - Tone ตอบในน้ำเสียง...
เนื่องจากการเขียนสามารถเขียนให้มีน้ำเสียงได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นมืออาชีพ, เป็นกันเอง หรือหากต้องการ สามารถเขียนเงื่อนไขใดๆ ใส่เข้าไปได้เพิ่มเติม
คำสั่ง: ตอบในน้ำเสียงที่เป็นกันเอง สนุกสนาน
S - Structure เขียนตอบในรูปแบบ...
รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น เขียนตอบในรูปแบบตารางที่มีคอลัมน์..., เขียนตอบเป็นข้อๆ, เขียนอธิบาย เขียนยาว เขียนสั้น อยาได้แบบไหนเขียนบอกเลย
คำสั่ง: เขียนตอบเป็นข้อๆ พร้อมคำอธิบาย
Prompt Engineering
คือ การออกแบบการเขียนคำสั่งให้กับ Generative AI ให้ AI มีกระบวนการ และคำตอบตามที่ต้องการโดย Prompt Engineering มาจากคำว่า Prompt หมายถึงตัวคำสั่งที่เขียนให้ Generative AI และ Engineering หรือวิศวกรรมที่หมายถึงการสร้าง ออกแบบ
การสังเคราะห์ข้อมูล
หนึ่งในการออกแบบคำสั่งเพื่อให้เกิดคำตอบที่ดีขึ้นคือ การสังเคราะห์ข้อมูล โดยแทนที่จะให้ ChatGPT นำข้อมูลมาสร้างใหม่ให้เราแบบตามที่เค้าทำความเข้าใจได้ เราสามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วที่รู้ว่าดี ประยุกต์ใช้สร้างต่อยอดเป็นข้อมูลชุดใหม่ได้
การสร้าง Content ด้วย STEPPs Framework
เช่นในการสร้าง Content จะมี STEPPs Framework ที่พูดถึงโดย Jonas Berger ในหนังสือ Contagious: Why things catch on ที่เล่าถึงว่า Viral Content ที่ทำให้คนพูดต่อกันจน Viral ได้มีองค์ประกอบอะไรบ้างโดยประกอบไปด้วย
S - Social Currency - คนแชร์ต่อคอนเทนต์จะต้องรู้สึกภูมิใจที่ได้แชร์
T - Trigger - คนแชร์คอนเทนต์เพราะเค้าถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงด้วยบางอย่าง
E - Emotion - คนแชร์คอนเทนต์เพราะเค้ามีความรู้สึกบางอย่างกับคอนเทนต์
P - Public - คนแชร์คอนเทนต์ได้เพราะคอนเทนต์สามารถแสดงให้สาธารณชนดูได้ ไม่เกิดความเสื่อมเสีย และมีเป้าหมายเพื่อแสดงต่อให้คนอื่นเห็นโดยเฉพาะ
P - Practical Value - คนแชร์คอนเทนต์เพราะประโยชน์ที่เค้าได้รับ
S - Stories - คนจะแชร์คอนเทนต์ได้ เค้าต้องจำได้ เข้าใจได้ก่อน ซึ่งการเล่าเป็นเรื่องช่วยให้เราจำเรื่องได้ดีกว่า
เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่จะมาสอนแยกอีกบทเรียนหนึ่ง ติดตามใน Blog แจ้ง Email Subscribe ไว้นะครับ!
คำสั่ง: โดยใช้ STEPPs Framework ของ Jonas Berger และในแต่ละไอเดียให้เขียนให้ครบทุกองค์ประกอบของ STEPPs ว่ามีความเกี่ยวข้องกับแต่ละองค์ประกอบอย่างไรบ้าง
สรุปคำสั่ง:
ให้คุณเป็น Content Creator ให้คุณสร้างไอเดีย Content เกี่ยวกับ Data, AI และ No Code สำหรับการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดงานซ้ำซ้อนรอบตัว สำหรับผู้อ่านที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ทีม Data, IT และบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาตนเองให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบในน้ำเสียงที่เป็นกันเอง สนุกสนาน เขียนตอบเป็นข้อๆ พร้อมคำอธิบาย โดยใช้ STEPPs Framework ของ Jonas Berger และในแต่ละไอเดียให้เขียนให้ครบทุกองค์ประกอบของ STEPPs ว่ามีความเกี่ยวข้องกับแต่ละองค์ประกอบอย่างไรบ้าง
ที่ปรึกษาของคุณในบทเรียนนี้
เจ้าของธุรกิจ ให้ผมช่วย สร้างธุรกิจของคุณให้เท่าทัน Data, AI นะครับ
สนใจเรียนรู้ว่าองค์ของคุณจะใช้ AI ทำให้เติบโตต่ออย่างไร พร้อมใช้ ChatGPT ให้เป็นผู้ช่วยส่วนตัว
แจ้งความสนใจส่งข้อความหาทางเพจ UP
แจ้งชื่อผู้ติดต่อ
ชื่อบริษัท
อีเมล์
เบอร์โทร
และเคสที่ต้องการปรับใช้ได้เลยนะครับ
ช่วยเราสร้างบทความที่ดีขึ้น
ผ่านการให้ข้อมูล และฟีดแบคเกี่ยวกับบทความนี้! และคอมเม้นท์บอกเราด้วยนะ ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไรด้านล่าง!
แนะนำบทเรียนนี้ให้เพื่อนต่อไหม?
5 - แนะนำต่อแล้ว!
4 - คิดถึงเพื่อนที่ได้ใช้ก่อน ส่งให้แน่ๆ
3 - ถ้ามีใครถามถึง ส่งให้แน่ๆ
2 - ยังไม่แน่ใจ
Comments